วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาล้างจานจากมะนาว

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาล้างจานจากมะนาว
โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง  น้ำยาล้างจานจากมะนาว

จัดทำโดย

นางสาวกาญจนา   ใจเย็น                เลขที่ 11
นางสาว เจนจิรา   กะสมรัมย์           เลขที่ 15
นางสาวเมธาวลัย   สิงคะเวหน        เลขที่ 25
นางสาวรัศมี   วาระรัมย์                  เลขที่ 26
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1


ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูรตนัตตยา จันทนะสาโร


โรงเรียนภัทรบพิตร

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32  

บทคัดย่อ


          โครงงานเรื่อง น้ำยาล้างจานจากกรดมะนาว นี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นกรดของน้ำมะนาว ที่สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกได้ดีพอๆ กับน้ำยาล้างจานที่มีสารเคมีหรือไม่ ต้นทุนต่ำและไม่มีสารตกค้าง เพราะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ อย่างน้ำมะนาว น้ำด่าง น้ำเกลือ และหัวเชื้อน้ำยา โดยมีขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า โดยนำหัวเชื้อลงไปกวนในถังโดยใช้ไม้กวนไปทางเดิม ห้ามกวนสวนทาง และใส่น้ำมะกรูด น้ำด่าง น้ำเกลือ ลงไปทีละนิดสลับกัน จนหมดกวนซักพักทิ้งไว้ และเมื่อนำไปล้างจานจะเกิดผลอย่างไร ผลปรากฏว่า เมื่อนำไปล้างจานจะสะอาดพอๆกับน้ำยาล้างจานที่มีสารเคมี มีต้นทุนที่ต่ำกว่า สามารถทำใช้เองได้ภายในบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช่จ่ายภายในบ้านด้วย













กิตติกรรมประกาศ  

          ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาล้างจานจากกรดมะนาว ในครั้งนี้  คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้รับความอนุเคราะห์จากบุคคลภายนอก ได้แก่ ชาวบ้านในแถบพื้นที่ใกล้เคียง ที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับกรดมะนาวที่ชาวบ้านได้ทำการผลิตกันขึ้นมาเองจากวัตถุดิบ ที่ปลอดสารเคมี และได้ให้คำแนะนำในเรื่องของการทำน้ำยาล้างจาน วิธีการทำสบู่อย่างถูกต้องและถูกวิธีตลอดจนอธิบายถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการนำมาทำน้ำยาล้างจานและสามารถนำไปลงมือปฏิบัติจริง 
        ในการจัดทำโครงงานชิ้นนี้และได้คำแนะนำปรึกษาในการทำโครงงานอย่างเป็นกันเอง รวมทั้งแนวคิดตลอดจนข้อบกพร่องต่างๆที่ต้องแก้ไข ทำให้คณะผู้จัดทำสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำโครงงานชิ้นนี้ได้ จนโครงงานเรื่องนี้เสร็จสมบูรณ์ คณะผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้


ผู้จัดทำ






บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
         น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม 
(ที่มา
:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99)
            ปัญหาที่พบได้บ่อยที่เกิดจากการล้างจานไม่สะอาด ทำให่มีเศษอาหารหลงเหลือติดอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของจานเมื่อเวลาผ่านไปเศษอาหารที่เหลือเหล่านั้นอาจเน่าเสียได้เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ สาเหตุที่เกิดจากการเน่าเสียของอาหารได้แก่
แบคทีเรีย
            จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น เกลียว กระบอกหรือท่อน กลมซึ่งอาจเกาะเรียงตัวกันเป็นสายหรือกลุ่ม แบคทีเรียมีการเจริญเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซลล์ โดยเฉลี่ยที่สภาว้เหมาะสม จะเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่าทุก 20-30 นาที ดังนั้นหากในอาหารมีแบคทีเรียปนเปื้อนเพียง 1 เซลล์ ภายใน 10 ชั่วโมง จะมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่า 1 ล้านเซลล์ อาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ในระดับนี้ จะเกิดการเน่าเสียเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Pseudomonas Acinetobacter, Moraxella, Flavobacterium เป็นต้น แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียอาจแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ โดยอาจพิจารณาจากความสามารถในการย่อยสลายประเภทอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
ยีสต์
           จุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เซลล์มีรูปร่างหลายลักณะ เช่น กลม รี เป็นต้น ส่วนใหญ่เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ ยีสต์เจริญได้ดีในอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ แยม ผลไม้แช่อิ่มหรือแห้ง รวมทั้งอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก เช่น ผักดอง แฮม เบคอน และเนื้อเค็ม สปอร์ของยีสต์ไม่ทนความร้อนเหมือนกับสปอร์ของแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยีสต์ยังมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายกรดอินทรีย์ต่างๆที่ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น กรดแล็กติก กรดแอซีติกได้ ทำให้กรดมีความเข้มข้นลดลง ทำให้อาหารมีสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียได้
อาหารที่เกิดการเน่าเสียจากยีสต์มักเกิดกลิ่นหมัก เมือก หรือฝ้าบริเวณผิวหน้า รวมทั้งเกิดความขุ่นและแก๊สได้ ตัวอย่างยีสต์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Saccharomyces, Pichia, Torulopsis เป็นต้น
รา
          จุลินทรีย์ที่พบอยู่ทั่วไป มีรูปร่างลักษณะ และสีต่างๆกัน ราเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผัก ผลไม้ และอาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เกิดการเน่าเสีย มีสี กลิ่น ที่ผิดปกติ และราบางชนิดเช่น Aspergillus flavus ยังสามารถสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินขึ้นในอาหารได้ โดยทั่วไปราเจริญได้ช้ากว่าแบคทีเรียและยีสต์ แต่เมื่อราเจริญได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว ราสามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น มีความชื้นน้อย ความเป็นกรด จึงเป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมาก ตัวอย่างราที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เช่น Aspergillus, Penicillium, Rhizopus เป็นต้น
แหล่งของจุลินทรีย์
            จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์แต่ละชนิด แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของจุลินทรีย์สามารถจัดแบ่งเป็น แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติทางกายภาพและทางชีวภาพ ซึ่งการทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์จะช่วยทำให้ทราบถึงการแพร่กระจายหรือการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์สู่วัตถุดิบทางการเกษตรหรืออาหาร (ที่มา: http://ajarncharoen.wordpress.com/2012/02/02/food-degrad/)

วัตถุประสงค์
            การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1.เพื่อทราบค่าคุณภาพของกรดจากมะนาว ที่นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน

ขอบเขตของการศึกษา
ด้านระยะเวลา
        1 ธันวาคม – 30 ธันวาคม 2559 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทั้งหมด 30 วัน
ด้านเนื้อหา
         ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำน้ำยาจากสมุนไพรที่ใช้ส่วนผสมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาค้นคว้าต่อไป


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.  สามารถสร้างน้ำยาล้างจานจากกรดจากมะนาวที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากขึ้น
            2.  สามารถรู้ได้ว่าการใช้กรดจากมะนาวทำให้ล้างจานได้สะอาดขึ้น 













บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          การศึกษากรดจากน้ำมะนาวมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้ดีขึ้นหรือไม่ ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
1. ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
2. สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน

1.ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
          น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม
2.สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
          น้ำยาล้างจาน Linear Alkylbenzene Sulfonates, Sodium Salt (LAS)  จัดเป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) LAS เป็นสารผสมของสารที่มีจำนวนคาร์บอนอยู่ระหว่าง 10-14  อะตอมบนสายอัลคิล (alkyl chain) ซึ่งต่อกับวงแหวนเบนซินที่ตำแหน่งพารา1 LAS   ในรูปของเกลือโซเดียมจัดเป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า และ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน  ในความเข้มข้นระหว่าง 5-25 %2 เนื่องจาก LAS สามารถทำให้สิ่งสกปรก หรือคราบไขมันหลุดจากผิวของผ้าหรือจานชามได้ 

3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหารผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
ประโยชน์    ใช้ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว  
อาการเมื่อเป็นพิษ  ความเป็นพิษของสารนี้ต่อมนุษย์จัดว่าเป็นพิษน้อย โดยทั่วไปอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือตาได้เล็กน้อย ในการทดลองการก่อการระคายเคืองของสารนี้ต่อผิวหนังและตาในกระต่าย พบว่าสารนี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ตาได้ในความเข้มข้น 5% ส่วนที่ผิวหนังต้องใช้ในความเข้มข้นที่สูงประมาณ 47-50%  ส่วนความเป็นพิษเมื่อรับประทานนั้น ต้องได้รับสารนี้ในความเข้มข้นมากกว่า 65%3   และจากการทดลองในหนูพบว่าปริมาณสารมากที่สุดที่ยังปลอดภัยเมื่อรับประทาน คือ 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันอาการเป็นพิษที่พบได้ในหนูจะพบความผิดปกติ ดังนี้ เดินโซเซ ขนตั้งชัน การหายใจลดลง ง่วงซึม หนังตาตก ท้องเสีย เป็นต้น


การปฐมพยาบาล
- กรณีรับประทาน ห้ามทำให้อาเจียน  ให้รีบดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ  เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที
 -กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำมาก ๆ  จนอาการระคายเคืองตาหายไป  หากไม่ดีขึ้นควรนำผู้ป่วยพบแพทย์
ข้อควรระวัง (คำเตือน)
-ห้ามรับประทาน
-ระวังอย่าให้เข้าตา ควรเก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็กและอาหาร











บทที่ 3
วิธีการศึกษา

           การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสมุนไพรชนิดใดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากกว่ากันคณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอน/วิธีการศึกษาไว้ ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้
            1.กรดมะนาว                                                                    2.ผงฟอง
     


3. N8000                                                                                        4. F-24(สารขจัดคราบมัน)                           
                                                            

            5. สารกันบูด                                                                            6.ถังน้ำ
            

           7.สีผสมอาหาร                                                                            8.น้ำเปล่า   

                

            9.น้ำมะนาว                                                                               10.ผงข้น
 



วิธีการ/ขั้นตอนการศึกษา
1.ขั้นเตรียม
1.1 เตรียมน้ำจากมะนาว
1.2 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้ครบ

2.ขั้นดำเนินการ
2.1 นำน้ำเปล่าผสมสีผสมอาหารเล็กน้อยตั้งทิ้งไว้     2.2 นำน้ำเปล่าผสมกับผงฟองทิ้งไว้ 30 นาที
    
                                                
2.3 นำF-24 เทลงในถัง                                                2.4 ตามด้วยผงข้น
   

                          
2.6 แล้วนำ N8000 เทตามลงไป                                    2.7 ใส่สีผสมอาหารตามที่ต้องการ  
                                             
2.8 ใส่สารกันบูดและน้ำมะนาว                                    2.9 เติมน้ำเปล่า      
2.10 คนส่วนผสมไปเรื่อยๆให้เข้ากัน                2.11 ตักใส่บรรจุภัณฑ์แล้วก็เป็นอันเสร็จ 
                                          
3.ขั้นสรุปและรายงานผล
3.1 นำน้ำยาล้างจานที่ได้ทดลองล้างจาน แล้วดูความสะอาด
3.2 บันทึกผลที่ได้จากการทดลอง 















บทที่ 4
ผลการศึกษา

          การศึกษาการนำน้ำมะนาวมาเป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าน้ำมะนาวจะมีคุณภาพที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้มาขึ้นหรือไม่ มีผลการศึกษา ดังนี้
        การทำน้ำยาล้างจานจากกรดมะนาวนั้นช่วยให้ผู้จัดทำโครงงานได้ความรู้และได้เรียนรู้วิธีการทำเพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต อีกทั้งช่วยประหยัดรายจ่ายจากการที่ต้องไปซื้อน้ำยาล้างจานจากท้องตลาดอีกด้วย










บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

           การศึกษาการนำน้ำมะนาวมาเป็นส่วนผสมในการทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าคุณภาพของน้ำมะนาวจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้มากขึ้นได้หรือไม่
สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

อภิปรายและสรุปผล
         จากการที่เราได้ศึกษา และ ได้ผลิตน้ำยาล้างจานจากมะนาวออกมาใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการชำระสิ่งสกปรก ซึ่งน้ำยาล้างจานของเรามีส่วนผสมของน้ำด่างซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสช่วยในการชำระล้างสิ่งสกปรก ส่วนมะกรูดนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งทำปฏิกิริยากับไขมันจึงช่วยขจัดความมันและกลิ่นคาว เกลือช่วยขจัดสิ่งสกปรก ส่วนหัวเชื้อ N8000 ช่วยให้น้ำยาล้างจานของเรามีฟองน่าใช้ดังนั้นน้ำยางล้างจานที่เราผลิตขึ้นนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทางเลือก ใหม่ที่ดีอีกทางหนึ่ง


บรรณานุกรม

          กานดา ว่องไวลิขิต ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสูตรไหนดี ” , วารสารฉลาดซื้อ , ฉบับที่ 9 , หน้า 42-44 ,2538.